• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

ดัชนีเชื่อมั่นหอการค้าไทยมี.ค.ลดลงทุกภาค กังวลรายได้,กำลังซื้อหด ผลพวงรัสเซีย-ยูเครน

Started by Shopd2, April 13, 2022, 12:40:22 PM

Previous topic - Next topic

Shopd2

ดัชนีเชื่อมั่นหอการค้าไทยมี.ค.ลดลงทุกภาค กังวลรายได้,กำลังซื้อหด ผลพวงรัสเซีย-ยูเครน

นายวชิร คูณทวีเทพ ผู้อำนวยการสถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย (TCC-CI) ประจำเดือนมี.ค. 65 ซึ่งเป็นการสำรวจความคิดเห็นของภาคธุรกิจและหอการค้าทั่วประเทศ จำนวน 369 ตัวอย่าง ในระหว่างวันที่ 22-29 มี.ค. 65 โดยดัชนีฯ อยู่ที่ระดับ 35.5 ลดลงจากระดับ 36.1 ในเดือนก.พ. 65

โดยดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย ในแต่ละภูมิภาค เป็นดังนี้

กรุงเทพฯ และปริมณฑล ดัชนีฯ อยู่ที่ 34.7 ลดลงจากเดือนก.พ. ซึ่งอยู่ที่ 35.4
ภาคกลาง ดัชนีฯ อยู่ที่ 36.7 ลดลงจากเดือน ก.พ. ซึ่งอยู่ที่ 37.2
ภาคตะวันออก ดัชนีฯ อยู่ที่ 39.1 ลดลงจากเดือน ก.พ. ซึ่งอยู่ที่ 39.8
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดัชนีฯ อยู่ที่ 35.7 ลดลงจากเดือน ก.พ. ซึ่งอยู่ที่ 36.2
ภาคเหนือ ดัชนีฯ อยู่ที่ 34.9 ลดลงจากเดือน ก.พ. ซึ่งอยู่ที่ 35.5
ภาคใต้ ดัชนีฯ อยู่ที่ 33.3 ลดลงจากเดือน ก.พ. ซึ่งอยู่ที่ 33.9
ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทยลดลงในทุกภาค โดยจะเห็นได้ว่ามีการปรับเปลี่ยนมุมมองความกังวลจากเดิมในเรื่องการระบาดของโอมิครอน มาเป็นความกังวลต่อสถานการณ์ค่าครองชีพ จากปัญหาน้ำมันแพง และราคาสินค้าที่ปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลกระทบจากปัญหาความขัดแย้งในรัสเซียและยูเครน

ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกับดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย เดือน มี.ค. 65 มีดังนี้

ปัจจัยลบ ได้แก่
1. ความกังวลต่อสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย

2. ความกังวลต่อกาปรับให้โรคโควิด-19 เข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่น

3. ราคาสินค้าบางรายการ โดยเฉพาะวัตถุดิบมีราคาสูง ส่งผลต่อค่าครองชีพ กำลังซื้อของประชาชน และรายได้ของธุรกิจ

4. ความกังวลต่อสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอน และจำนวนผู้ติดเชื้อยังเพิ่มสูง

5. ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น

6. เงินบาทปรับตัวอ่อนค่า จากระดับ 32.674 บาท/ดอลลาร์ ณ สิ้นก.พ.65 มาเป็นระดับ 33.252 บาท/ดอลลาร์ ณ สิ้นมี.ค.65

7. การปรับนโยบายและแนวทางการรักษาแก่ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยที่ยังมีความไม่แน่นอน

ปัจจัยบวก ได้แก่
1. คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี โดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง

2. ศบค. ปรับมาตรการสำหรับผู้ที่เดินทางเข้าประเทศไทย ประเภท Test & Go, Sandbox และ Alternative Quarantine โดยให้ยกเลิกการตรวจ RT-PCR 72 ชั่วโมง และปรับลดการกักตัวเหลือ 5 วัน

3. กระทรวงการคลัง เผยยอดใช้จ่ายสะสม 3 โครงการกระตุ้นการบริโภคในประเทศ รวมกวา 6.12 หมื่นล้านบาท

4. การส่งออกของไทยเดือน ก.พ. 64 ขยายตัว 16.2% มูลค่า 23,483 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

5. ราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการปรับตัวดีขึ้น หรือทรงตัวในระดับที่ดี โดยเฉพาะข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

สำหรับข้อเสนอแนะต่อภาครัฐในการแก้ไขปัญหา มีดังนี้

1. มาตรการช่วยเหลือเพื่อบรรเทาราคาน้ำมัน ราคาก๊าซหุงต้ม ค่าไฟฟ้า รวมถึงภาระค่าใช้จ่ายของภาคธุรกิจ และประชาชน

2. ลดต้นทุนภาคการเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์รัสเซียและยูเครน รวมทั้งระดับราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น

3. การเร่งเปิดประเทศ หรือลดขั้นตอนในการเข้าประเทศสำหรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ

4. การเร่งให้โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น และให้ประชาชนสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ

5. กระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชนภายในประเทศ และส่งเสริมให้ประชาชนเดินทางออกต่างจังหวัดในรูปแบบที่ปลอดภัยในช่วงเทศกาลวันหยุดยาว

6. ส่งเสริมการลงทุนในประเทศ และสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนได้ลงทุนในสิ่งใหม่ๆ ให้มีความต่อเนื่องให้มีความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ