ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN

ตลาดซื้อขายสินค้าออนไลน์ โฆษณาสินค้าฟรี => ธุรกิจ งาน => Topic started by: dsmol19 on March 27, 2022, 02:33:07 AM

Title: CPF เชื่อปี 65 รายได้ยังโตได้ 10% แม้ต้นปีราคาเนื้อสัตว์ลดลง-ต้นทุนสูงกดดัน
Post by: dsmol19 on March 27, 2022, 02:33:07 AM
CPF เชื่อปี 65 รายได้ยังโต (https://www.noeychotika.com/%e0%b8%84%e0%b8%9b%e0%b8%a0-%e0%b8%96%e0%b8%81%e0%b8%97%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%a2%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%a2-%e0%b9%84%e0%b8%94%e0%b9%89/)ได้ 10% แม้ต้นปีราคาเนื้อสัตว์ลดลง-ต้นทุนสูงกดดัน

นางกอบบุญ ศรีชัย เลขานุการบริษัทและหัวหน้าฝ่ายงานนักลงทุนสัมพันธ์และตลาดทุน บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) เปิดเผยว่า บริษัทตั้งเป้ารายได้ปี 65 โตขึ้น 10% จากปีก่อนที่มีรายได้ราว 5.17 แสนล้านบาท แต่ยอมรับว่าการดำเนินธุรกิจในปีนี้ยังมีความท้าทายค่อนข้างมาก โดยเฉพาะราคาขายเนื้อสัตว์ที่ลดลงมาอย่างต่อเนื่องมาอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปีก่อน ซึ่งเห็นได้ชัดจากราคาหมู หลังจากประเทศจีนใช้มาตรการล็อกดาวน์ และภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้ดีมานด์การบริโภคหมูลดลง จึงส่งผลกระทบต่อราคาขาย

ขณะเดียวกัน ราคาไก่แม้ว่าจะอยู่ในระดับที่ดี และปรับเพิ่มขึ้นมามาก แต่ราคาในจีนยังคงทรงตัวและไม่มีแนวโน้มการปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งจีนถือเป็นตลาดใหญ่ ทำให้มีความท้าทายในส่วนของยอดขาย โดยที่มองว่าจะส่งผลต่อภาพรวมของรายได้ในไตรมาส 1/65 ที่อาจมีแนวโน้มชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ส่วนราคาต้นทุนอาหารสัตว์ในปัจจุบันถือว่าปรับเพิ่มขึ้นสูงค่อนข้างมาก หลังเกิดสงครามระหว่างรัสเซียและยุเครน ซึ่งเป็นประเทศที่ซัพพลายวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่สำคัญ ทำให้ปัจจัยด้านต้นทุนอาหารสัตว์ที่เพิ่มขึ้นส่งผลกระทบต่ออัตรากำไรขั้นต้นองบริษัทในช่วงครึ่งปีแรกอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งบริษัทยังคงมองหาแนวทางการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรักษาระดับอัตรากำไรขั้นต้นให้ไม่ต่ำกว่า 17% พร้อมกับจะมีการปรับเพิ่มราคาส่งออกเนื้อสัตว์ในช่วงไตรมาส 2/65 เพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุนที่สูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม บริษัทมองว่าสถานการณ์ราคาขายเนื้อสัตว์และต้นทุนอาหารสัตว์จะเริ่มเข้าสู่จุดสมดุลในช่วงครึ่งปีหลัง หลังจากที่เศรษฐกิจในแต่ละประเทศมีการเติบโตขึ้น และกลับมาเปิดประเทศมากขึ้น รวมถึงสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนมีโอกาสจบลงได้ ทำให้ปัญหาด้านซัพพลายวัตถุดิบและความกังวลด้านภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวคลี่คลายลง

ด้านงบลทุนของบริษัทในปี 65 ตั้งไว้ที่ 2.5 หมื่นล้านบาท โดยจะใช้งบลงทุนราว 6-7 พันล้านบาทไปปรับปรุงเครื่องจักรในการผลิตให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และขยายกำลังการผลิตบางโรงงาน ส่วนงบลงทุนที่เหลือจะนำมารองรับการลงทุนด้านอื่นๆ ของบริษัท