• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - Cindy700

#6271


นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.)  เปิดเผยถึงการเสนอขายหุ้นกู้ ปตท. ภายใต้โครงการออกตราสารหนี้ (MTN Program) ประเภทนักลงทุนสถาบัน และ/หรือ ผู้ลงทุนรายใหญ่ (ไม่รวมบุคคลธรรมดา) มูลค่าเสนอขายรวม 47,000 ล้านบาท ว่า ปตท. ขอขอบคุณนักลงทุนที่ให้การตอบรับหุ้นกู้ ปตท. เป็นอย่างดีเช่นเดียวกับทุกครั้งที่ผ่านมา ด้วยยอดจองกว่า 2.73 เท่าของการเสนอขาย หรือกว่า 95,615.9 ล้านบาท

ปตท. จึงพิจารณาเพิ่มมูลค่าการออกหุ้นกู้จากที่วางแผนไว้ที่ 35,000 ล้านบาท เป็น 47,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการสะท้อนความเชื่อมั่นที่นักลงทุนมีต่อวิสัยทัศน์การดำเนินธุรกิจ  สถานะทางการเงินที่มั่นคง  และศักยภาพการดำเนินงานของ ปตท.  โดยการจัดหาเงินทุนครั้งนี้  ปตท. จะนำไปใช้ลงทุนเพื่อร่วมกระตุ้นเศรษฐกิจและการจ้างงานต่อเนื่องตามแผนงาน  รวมถึงชำระคืนเงินกู้ และทดแทนหุ้นกู้ที่ครบกำหนด

 ทั้งนี้ ท่ามกลางความผันผวนจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลก และวิกฤติ COVID-19 ปตท. ยังคงยึดมั่นในวิสัยทัศน์การดำเนินธุรกิจ Powering Life with Future Energy and Beyond  ขับเคลื่อนทุกชีวิตด้วยพลังแห่งอนาคต  เดินหน้าออกหุ้นกู้เพื่อเป็นช่องทางจัดหาเงินทุน  ให้การบริหารจัดการต้นทุนทางการเงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 


ทั้งยังเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการลงทุนสำหรับนักลงทุนสถาบัน และ/หรือ ผู้ลงทุนรายใหญ่ ที่แสวงหาโอกาสในการลงทุนโดยได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม  นับเป็นการช่วยสนับสนุนและพัฒนาตลาดทุนไทย  ด้วยเงินทุนหมุนเวียนในประเทศและกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง

นางสาวพรรณนลิน มหาวงศ์ธิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน ปตท. เปิดเผยว่า การเสนอขายหุ้นกู้ครั้งนี้ประกอบด้วยหุ้นกู้ 5 รุ่น ได้แก่ รุ่นอายุ 1 ปี 6 เดือน ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ที่ Compounded THOR + 0.18% ต่อปี และรุ่นอายุ 3 ปี 5 ปี 7 ปี และ 10 ปี ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยคงที่ ที่ 0.96% 1.31% 1.79% และ 2.37% ต่อปี ตามลำดับ

ซึ่งมีนักลงทุนที่สนใจครอบคลุมทุกประเภท อาทิ กองทุนภายใต้การบริหารของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บริษัทประกันชีวิต กลุ่มสหกรณ์ ธนาคารพาณิชย์

รวมถึงผู้ลงทุนรายใหญ่ (ไม่รวมถึงบุคคลธรรมดา)หุ้นกู้รุ่นอายุ 1 ปี 6 เดือน เป็นการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว โดยอิงอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงธุรกรรมซื้อคืนระยะข้ามคืน (Thai Overnight Repurchase Rate: THOR)

ซึ่ง ปตท. เป็นบริษัทเอกชนรายแรกที่เสนอขายหุ้นกู้ที่มีอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวโดยอ้างอิง THOR ในตลาดตราสารหนี้ไทย เพื่อเป็นการนำร่องและร่วมพัฒนาตลาดทุนให้มีรูปแบบการเสนอขายที่หลากหลายและตอบโจทย์การลงทุนของนักลงทุน 

นางอลิศรา มหาสันทนะ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้ความเห็นว่า การเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวอ้างอิงอัตราดอกเบี้ย THOR โดย ปตท. ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนรายแรกในไทยนั้น ถือเป็นต้นแบบของการนำอัตราดอกเบี้ย THOR ไปใช้อ้างอิงได้จริงในการระดมทุนของภาคเอกชน

ธปท. ขอชื่นชมและขอบคุณทาง ปตท. และผู้จัดการการจัดจำหน่ายที่ให้ความร่วมมือกับ ธปท. ในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ร่วมตลาด และส่งเสริมการนำอัตราดอกเบี้ย THOR ไปใช้เป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดตราสารหนี้ซึ่งมีนักลงทุนหลากหลายกลุ่ม

โดย ธปท. คาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ตลาดการเงินไทยจะมีการทำธุรกรรมการเงินอ้างอิงอัตราดอกเบี้ย THOR อย่างแพร่หลายและต่อเนื่อง เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านจากอัตราดอกเบี้ย THBFIX ได้อย่างสมบูรณ์ต่อไป

สำหรับการจัดจำหน่ายครั้งนี้ มีธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ร่วมเป็นผู้จัดการการจัดจำหน่าย
#6275


จากสถานการณ์วิกฤตภัยร้าย "โควิด-19" ที่ทำให้เกิดสถานการณ์ที่ต้องหยุดชะงักหลายคนต้องตกงาน และขาดรายได้หลักจากการทำงานในวิชาชีพ ในช่วงสถานการณ์เช่นนี้เราทุกคนจะได้เห็นอีกแง่มุมกับน้ำใจของคนไทยและของเหล่าคนบันเทิงทั้งเบื้องหน้า และเบื้องหลังที่ได้เข้ามาหยิบยื่นความช่วยเหลือ แบ่งปันน้ำใจ ด้วยบริจาคเงินและสิ่งของจำเป็นที่ขาดแคลนต่อบุคลากรทางการแพทย์และโรงพยาบาล ไม่เว้นแม้แต่นักร้องหนุ่ม "ป๊อบ ปองกูล สืบซึ้ง" ที่ล่าสุดเจ้าตัวก็ส่งมอบเครื่องผลิตออกซิเจนเพิ่มอีก 73 เครื่อง ให้โรงพยาบาล และอาสา

โดยหนุ่ม "ป๊อบ ปองกูล" ได้โพสต์ภาพลงอินสตาแกรม พร้อมเขียนข้อความว่า "ตอนนี้ถึงไทยทั้งหมด 73เครื่องแล้วครับ ทยอย ส่งต่อถึงอาสาสมัคร แพทย์ พยาบาล และ โรงพยาบาล ที่เราติดต่อไว้ครับ ขอบคุณภูมิและหยี ที่ไปช่วยขนของ และคุณกานและแฟน ที่เป็นธุระให้ทุกอย่างนะครับ" งานนี้ก็มีแฟนคลับเข้ามาส่งอิโมจิรูปหัวใจให้รัวๆ กันเลยทีเดียว
#6276


นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการหารือกับนายแดน เทฮัน รัฐมนตรีการค้า การท่องเที่ยว และการลงทุน ของออสเตรเลีย ผ่านระบบประชุมทางไกล ว่า  ออสเตรเลียสนใจจะจัดทำหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจกับประเทศไทย ซึ่งก่อนหน้านี้ไทยมีความตกลงการค้าเสรี (FTA) กับออสเตรเลีย ซึ่งขณะนี้มีความคืบหน้าเรื่องการลดภาษีระหว่างกันเกือบทุกรายการแล้ว โดยการจัดทำยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจ (Strategic Economic Partnership) ระหว่างไทยและออสเตรเลีย

ขณะนี้ไทยได้มีการเตรียมการจัดทำข้อตกลงนี้ ใน 7 สาขา ได้แก่ 1 .เกษตรแปรรูป โดยเฉพาะด้านอาหาร 2. การท่องเที่ยว 3. บริการสุขภาพ 4. การศึกษา  5. อีคอมเมอร์ซ 6. เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และ 7. ด้านอื่นๆ เช่น ด้านพลังงาน หรือด้านการลงทุนร่วมกัน เป็นต้น ซึ่งรัฐมนตรีออสเตรเลียแจ้งว่าจะเร่งดำเนินการให้ได้ข้อสรุปโดยเร็ว หากได้ข้อสรุปจะเชิญไทยเข้าร่วมลงนามเข้าร่วมยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจต่อไป คาดว่าจะดำเนินการได้ในปี 2565

สำหรับเรื่องของการเร่งรัดข้อตกลงอาร์เซ็ป โดยมีประเทศที่ให้สัตยาบันแล้ว 3 ประเทศ คือ สิงคโปร์ จีนและญี่ปุ่น ในส่วนของไทยคาดว่าจะยื่นให้สัตยาบันต่อจากจาการ์ตาในเดือนตุลาคมหรือไม่เกินพฤศจิกายนปีนี้ สำหรับออสเตรเลียจะยื่นได้ในเวลาใกล้เคียงกัน เพื่อให้อาร์เซ็ปมีผลบังคับใช้โดยเร็วภายในต้นปีหน้าตามเป้าหมาย  ส่วนปัญหาการอุดหนุนการประมงขององค์การการค้าโลก ซึ่งไทยย้ำว่า ไทยมีจุดยืนในเรื่องการสนับสนุนประมงชายฝั่งและประมงพื้นบ้าน และไม่สนับสนุนการอุดหนุนประมงผิดกฎหมาย (IUU fishing)

นอกจากนี้ออสเตรเลียได้สอบถามเรื่องการเตรียมเป็นเจ้าภาพเอเปคในปี 2565 ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ช่วงปลายปีนี้ โดยไทยได้เตรียม 3 ประเด็นเพื่อผลักดัน ได้แก่ 1. เรื่องการเจรจาหาข้อสรุปการอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศสมาชิกเอเปค 2. หาข้อสรุปการกำหนดแนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 และ 3. การส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนของกลุ่มประเทศเอเปคภายใต้ทิศทาง BCG (Bio-Circular-Green Economy) โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

 
นายจุรินทร์ กล่าวว่า ในส่วนของไทยนั้นได้ขอให้ออสเตรเลียนำเข้าสินค้าเกษตรจากไทยมากขึ้น อาทิ ยางรถยนต์ ซึ่งเป็นโอกาสดีของไทยที่จะใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบในการผลิตเพิ่มขึ้น อุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยเฉพาะถุงมือยาง ซึ่งไทยเป็นแหล่งผลิตรายใหญ่ของโลก อาหารแปรรูป ไทยสามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและมีศักยภาพ ติด 1 ใน 10 ของโลก และอาหารสัตว์เลี้ยง ซึ่งเป็นสินค้าดาวรุ่งของไทยที่การส่งออกขยายตัวสูง และออสเตรเลียจะเป็นตลาดสำคัญในอนาคต และประเด็นที่ 2 ไทยขอให้ออสเตรเลียช่วยสนับสนุนวัคซีนให้กับไทย เนื่องจากออสเตรเลียเป็นผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่และได้สนับสนุนวัคซีนให้กับหลายประเทศ

 ทั้งนี้ ไทยกับออสเตรเลียมีความสัมพันธ์ทางการทูตครบปีที่ 69 โดยในปี 2563 มีมูลค่าการค้าระหว่างกัน 13,138 ล้านดอลลาร์  สำหรับในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 (ม.ค.-มิ.ย.) การค้าระหว่างไทยกับออสเตรเลียมีมูลค่า 8,426 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว34.3%  จากช่วงเดียวกันของปี 2563 โดยไทยส่งออกมูลค่า 5,598 ล้านดอลลาร์ และไทยนำเข้ามูลค่า 2,827 ล้านดอลลาร์ สินค้าส่งออกสำคัญ อาทิ รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ อัญมณีและเครื่องประดับ ยางรถยนต์ และเม็ดพลาสติกสำหรับสินค้านำเข้าสำคัญ อาทิ ทองคำ อลูมิเนียมและทองแดง ธัญพืช น้ำมันดิบ ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ
#6277
ราคาดีมากกก!!!!!!!!
#6278


กรุงเทพฯ 5 ส.ค. 2564 –ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี (ttb) เปิดตัวประกันชีวิตควบการลงทุน "ทีทีบี เฟล็กซี่ อัลติเมท โพรเทค" (ยูนิตลิงค์) ตอบโจทย์ผู้บริหารและเจ้าของธุรกิจ ที่ต้องการความคุ้มครองสูงและต่อเนื่องระยะยาว ควบคู่กับโอกาสรับผลตอบแทนจากการลงทุน ชูจุดเด่นคุ้มครองยาว 99 ปี คุ้มครองชีวิตสูงถึง 120 เท่า ของเบี้ยประกันภัยหลัก คุ้มครองเพิ่มเป็นสองเท่า สูงสุดรวม 240 เท่า ของเบี้ยประกันหลักภัย กรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ และปรับเปลี่ยนได้ในแต่ละช่วงของชีวิต

ทีเอ็มบีธนชาต มุ่งมั่นสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้กับคนไทยทั้งวันนี้และอนาคต โดยสนับสนุนให้คนไทยหันมาให้ความสำคัญและเล็งเห็นความจำเป็นของการมีประกันชีวิตที่เพียงพอและเหมาะสม เพื่อเป็นตัวช่วยรองรับความเสี่ยง เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน ธนาคารจึงร่วมกับบริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) พัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต "ทีทีบี เฟล็กซี่ อัลติเมท โพรเทค" (ยูนิตลิงค์) ที่ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มผู้บริหารและเจ้าของธุรกิจที่เป็นเสาหลักของครอบครัว ที่ต้องการมีหลักประกันความคุ้มครองสูงในระยะยาวให้กับตนเองและครอบครัว โดยมอบหลักประกันความคุ้มครองสูงสุดนาน 99 ปี คุ้มครองชีวิตสูงถึง 120 เท่าของเบี้ยประกันภัยหลัก คุ้มครองเพิ่มเป็นสองเท่า สูงสุดรวม 240 เท่า ของเบี้ยประกันภัยหลัก กรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ และให้ความมั่นใจ ด้วยสิทธิคุ้มครองต่อเนื่อง 10 ปีแรก แม้มูลค่าบัญชีกรมธรรม์ไม่เพียงพอชำระค่าธรรมเนียมกรมธรรม์ก็ตาม (เงื่อนไขเป็นไปตามที่กรมธรรม์กำหนด)

นอกจากนี้ ทีทีบี เฟล็กซี่ อัลติเมท โพรเทค (ยูนิตลิงค์) ยังมีความยืดหยุ่นเหมาะสมกับช่วงชีวิตในแต่ละช่วง หากไม่อยากชำระเบี้ยฯ ยาวนาน สามารถปรับเปลี่ยนแผนได้ตามความต้องการที่เปลี่ยนไปในแต่ละช่วงชีวิต ด้วยการวางแผนจ่าย หรือหยุดพักชำระเบี้ยฯ หลักได้ มีน้อยจ่ายน้อย มีมากจ่ายมากขึ้น เพื่อลงทุนในจังหวะที่เหมาะสม เจ้าของธุรกิจจึงมั่นใจได้ว่าจะมีหลักประกันที่แน่นอนให้กับครอบครัวที่รักและธุรกิจที่สร้างมากับมือ มีทั้งความคุ้มครองชีวิต พร้อมทั้งเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนจากการลงทุน ซึ่งเป็นการสร้างรากฐานชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้แก่ตนเองและครอบครัวได้ต่อไป

ผู้สนใจผลิตภัณฑ์ ทีทีบีเฟล็กซี่ อัลติเมท โพรเทค (ยูนิตลิงค์) สามารถสอบถามข้อมูลได้จาก ที่ปรึกษาทางการเงินและการลงทุนส่วนบุคคลของท่าน หรือ ttb ทุกสาขา และเว็บไซต์ ttbbank.com/th/personal/insurance/detail/flexi-ultimate-protect
#6280
สนใจเชิญให้เข้าร่วมกลุ่ม Line "บ้านที่ดิน HouseLand" เพื่อรับการอัพเดทที่ดิน
https://bit.ly/3xFTxOS

โปรดติดต่อทีมงาน 88
ติดต่อคุณชัย 88
โทร. 0918849203
LINE ID : @614skoug
เว็บบ้านที่ดิน  www.housetheland.com ที่ดินบ้านสวนคลอง14 ชุดพิเศษ 10แปลง ที่ดินองครักษ์ นครนายก ที่สวยติดธรรมชาติ EP1

กดไลค์กดแชร์ กดติดตาม คือ Property บ้านที่ดิน HouseLand
https://www.youtube.com/channel/UCIz5DVj6igFVHKPUqY-Z4RA

บ้านที่ดิน HouseLand อสังหาครบวงจร
https://www.facebook.com/HouseTheLand
#6284


นางสาวสุวดี พันธุ์พานิช เลขานุการ บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ THG เปิดเผยผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) มีหนังสือลงวันที่ 4 ส.ค.2564 โดยใช้อำนาจมาตรา 58 (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ) ให้ผู้บริหารบริษัทฯ ชี้แจงข้อมูลและนำส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องต่อสำนักงาน ก.ล.ต. และเปิดเผยคำชี้แจงดังกล่าวผ่านระบบสารสนเทศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ภายใน 7 วันนับตั้งแต่วันที่ในหนังสือ

บริษัทฯ ขอชี้แจงว่า บริษัทฯ ได้รับหนังสือจาก สำนักงาน ก.ล.ต.แล้ว โดยจะดำเนินการชี้แจงโดยละเอียดตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด โดยขอให้ข้อมูลเบื้องดันได้ดังนี้

1. บริษัทฯ "ไม่ได้ให้ข้อมูลการทำสัญญาหรือจะทำสัญญาร่วมกับกระทรวงกลาโหม" ตามที่ได้ชี้แจงไปแล้ว ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ลงนามความร่วมมือกับองค์กรที่มีความเกี่ยวข้องกับรัฐเพื่อร่วมกันนำเข้าวัคชีนจริง โดยจะเปิดเป็นเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้สำนักงาน ก.ล.ต.

ประกันโควิด เจอ จ่าย จบ! รับเลย 100,000 บาท

2. บริษัทฯ ไม่ได้ใช้เงินสด เงินกู้ หรือทรัพย์สินของบริษัทฯ ในการวางมัดจำหรือค่าปรับมัดจำวัคซีน

3. วัคชีนจำนวน 20 ล้านโดสที่ได้มีการเจรจากับผู้แทนจำหน่ายแล้วนั้น ยังไม่มีการลงนามสั่งซื้อจากหน่วยงานที่มีหน้าที่ตามระเบียบของรัฐ แต่บริษัทฯ ยังไม่ละทิ้งความพยายาม โดยจำนวนวัคชีน และระยะเวลาการนำเข้าวัคซีนไม่สามารถระบุได้ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

อนึ่ง ขอเรียนให้ท่านทราบว่า "แม้บริษัทฯ ไม่ใช่ผู้มีหน้าที่ในการดำเนินการสั่งซื้อวัดซีนโควิด 19 ตามกำหนดของรัฐ" แต่เป็นการ ทำหน้าที่ในฐานะเอกชนและพลเมือง ที่ไม่เพิกเฉยต่อสถานการณ์การระบาดของโรคที่มีในปัจจุบัน เพื่อช่วยให้วิกฤตนี้ผ่านพ้นไปโดยเร็ว
#6285


แม้จะเป็นเพียงการควบรวมกันของ 2 บริษัทสตาร์ทอัพในอินโดนีเซีย แต่ก็ถือป็นดีลที่ใหญ่ที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ของอินโดนีเซีย และจะกลายเป็นบริษัทที่ใหญ่ติดอันดับ Top 3 ของประเทศ โดยเมื่อรวมมูลค่าธุรกรรม หรือ Gross Transaction Value (GTV) ของ 2 บริษัทนั้น จะมีมูลค่ามากถึง 2.2 หมื่นล้านเหรียญ คิดเป็น 2% ของ GDP อินโดนีเซีย อีกทั้งผู้บริหารยังตั้งเป้าว่า อาจจะไปได้ถึง 5-10% ของ GDP ภายหลังจากควบรวมกันเป็น GoTo หลังจากนี้ บริษัทเตรียมที่จะเดินหน้าเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทั้งในประเทศอินโดนีเซียและที่สหรัฐฯ พร้อมนำเม็ดเงินที่จะมาพลิกโฉมหน้าการแข่งขันของอุตสาหกรรม ไม่เพียงแต่ในประเทศ แต่ยังรวมถึงประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคด้วย ซึ่งจะได้รับผลกระทบและแรงกระเพื่อมจากดีลครั้งนี้

ก่อนอื่น ไปดูว่า GoTo คือใคร และทำไมถึงจะสร้างผลกระทบต่อวงการบริษัทเทคโนโลยีในอาเซียนได้มากขนาดนี้

บริษัทแรกของการควบรวม คือ Gojek เป็น Platform เรียกรถ (Ride-hailing) ที่กำลังแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ในเวทีเดียวกันกับ Grab ในหลายประเทศในอาเซียน ในอินโดนีเซียนั้น Gojek ยังมีบริการอื่นๆ ที่เป็น on-demand services อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การส่งของ การส่งอาหาร ของกินของใช้ ดอกไม้ ยา รวมถึงบริการที่เป็น Lifestyle services ต่างๆ เช่น จ้างคนทำความสะอาดบ้าน นวด ติวเตอร์ เทรนเนอร์ฟิตเนส จัดสวน ตัดผม และยังมีบริการ จองตั่วรถ คอนเสิร์ต อีเว้นท์ รวมไว้ในแอปเดียวอีกด้วย GoJek ยังทำธุรกิจการเงิน (Financial services) ในชื่อ GoPay ซึ่งเป็น e-wallet สำหรับชำระค่าบริการต่างๆ รวมถึงการให้สินเชื่อแก่ผู้บริโภคด้วย ซึ่งถือได้ว่า มีความพร้อมที่จะเป็น SuperApp สำหรับผู้บริโภคเป็นอย่างมาก

ขณะที่อีกบริษัทหนึ่งของการควบรวมก็แข็งแกร่งในสมรภูมิของตัวเองเช่นเดียวกัน คือ Tokopedia นั้นเป็น platform e-commerce ที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย ชนิดที่ว่า แม้ Shopee จะเป็นผู้นำในทุกประเทศในอาเซียนแล้วนั้น แต่ในอินโดนีเซียทั้ง  2 บริษัท ยังคงคู่คี่สูสีกันอยู่ โดย Tokopedia นั้น เป็นผู้บุกเบิกตลาด e-commerce มาตั้งแต่ปี 2009 และปัจจุบันเป็นผู้นำในตลาด C2C ที่ส่วนแบ่งการตลาดสูงถึงราว 45% มีผู้ใช้งานต่อเดือนมากถึง 129 ล้านคน และสามารถสร้างรายได้ได้จากหลากหลายช่องทาง ทั้งจากการโฆษณาสินค้า การเก็บค่าคอมมิชชั่น รวมถึงค่าบริการเสริมอื่นๆ ใน Tokopedia นั้น ผู้ใช้งานยังสามารถสั่งซื้อสินค้าจากซูเปอร์มาร์เก็ตและจากตลาดทั่วไปได้ ทำให้ความกว้างของสินค้านั้น ครอบคลุมของใช้ในชีวิตประจำวันได้เกือบทุกอย่าง

ดังนั้น การรวมกันของบริษัทใหญ่นี้ จึงทำให้ความเป็นผู้นำในทั้ง 2 ตลาด ถูกเสริมความแข็งแกร่งให้มากยิ่งขึ้นไปอีก ทั้งการรวมกันของฐานลูกค้า การเพิ่มประสิทธิภาพในค่าใช้จ่ายทางการตลาดและระบบหลังบ้าน การจัดการโลจิสติกส์ ซึ่งอินโดนีเซียนั้น มีภูมิประเทศที่เป็นเกาะมากกว่า 17,000 เกาะ การควบรวมกันจะส่งผลบวกต่อการจัดส่งสินค้าและต้นทุนของทั้งสองบริษัทอย่างมาก และที่สำคัญที่สุด คือ ข้อมูลลูกค้า ฐานข้อมูลของ GoTo จะมีข้อมูลลูกค้าที่มีความละเอียดและแม่นยำยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลบวกต่อธุรกิจต่อเนื่องของบริษัท คือ ธุรกิจการเงิน (Financial services) ในการทำ Credit scoring การปล่อยสินเชื่อ และการนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินแก่ลูกค้า การรวมกันของทั้ง 2 นี้ ยังถือว่า เป็นบริษัทแรกในโลกที่สามารถให้บริการได้ทั้ง e-commerce platform และ on-demand services อีกด้วย

ด้านการถือหุ้น GoTo จะมาจากผู้ถือหุ้นของ Gojek 58% และ Tokopedia 42% ผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทรวมจะเป็น Alibaba และ SoftBank โดย Alibaba นั้นยังถือหุ้นในคู่แข่งของ Tokopedia อย่าง Lazada ขณะที่ Softbank ก็ถือหุ้นในคู่แข่งของ Gojek อย่าง Grab เป็นที่น่าสังเกตว่า ระบบนิเวศน์ของวงการบริษัทเทคโนโลยีในอาเซียนนั้นมีความทับซ้อนกันเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ยังมีผู้ถือหุ้นที่เป็นบริษัทชั้นนำของโลกอย่าง Facebook Google JD.com PayPal Tencent และ Visa รวมถึงกองทุนขนาดใหญ่อีกหลายแห่ง

Goto เตรียมตัวที่จะจดทะเบียนใน 2 ตลาด (Dual listing) ทั้งอินโดนีเซียและสหรัฐฯ โดยคาดการณ์กันว่าจะระดมที่มูลค่ากิจการมากถึง 3.5-4.0 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวของมูลค่ารวมของ 2 บริษัทที่ 18 ล้านเหรียญ ที่เคยระดมทุนไปในปี 2019 และ 2020 ตามลำดับ และเป็นมูลค่าที่ใกล้เคียงกับ Grab บริษัทสิงคโปร์ที่กำลังจะจดทะเบียนในตลาด Nasdaq ผ่านการระดมทุนแผนพิเศษ Special Purpose Acquisition Company (SPAC) หนุนโดย Altimeter Capital ที่มูลค่ากิจการราว 4 หมื่นล้านเหรียญ หลังทั้ง Gojek และ Grab ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงในการควบรวมกันได้เมื่อต้นปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ในเวทีอาเซียนเดียวกันนั้น ยังถือว่าห่างจากมูลค่าของ SEA group อยู่มาก ที่ราว 14.5 หมื่นล้านเหรียญ ที่มีทั้งธุรกิจ e-commerce ธุรกิจการเงิน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธุรกิจเกมส์ของ Garena ที่ถือว่ายังเป็นตัวแปรที่สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของ Platform Technology ในภูมิภาคนี้อยู่
ภายหลังการระดมทุน GoTo อาจไม่หยุดเพียงความเป็นผู้นำในตลาดอินโดนีเซีย แต่ยังจะขยายไปในตลาดอื่นๆในอาเซียนที่ Gojek นั้นได้เริ่มธุรกิจเอาไว้แล้ว รวมถึงประเทศอื่นๆได้อีกด้วย และไม่เพียงแต่ GoTo เท่านั้น ยังมีสตาร์ทอัพเทคโนโลยีรายอื่นๆอีก ทั้ง Grab Traveloka Bukalapak ที่กำลังเตรียมตบเท้าเข้าระดมทุนผ่านตลาดต่างๆ ซึ่งถือเป็นการนำเม็ดเงินเข้าเพิ่มในระบบนิเวศน์ของบริษัทเทคโนโลยีให้อุดมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นและช่วยให้สตาร์ทอัพขนาดเล็กใหม่ๆได้เติบโตตามมาได้เร็วขึ้น ทำให้ในระยะข้างหน้า แม้ว่าผลกระทบและแรงกระเพื่อมที่จะเกิดขึ้นต่อวงการบริษัทเทคโนโลยีในอาเซียนจะยังคงเป็นสิ่งที่ต้องจับตามองต่อไป แต่ก็เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า ความเข้มข้นของการแข่งขันจากบรรดาบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ในสมรภูมิรบอาเซียนนั้นได้เพิ่มขึ้นแล้ว