• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - Joe524

#7171


วิกฤติชิพเกิดจากในช่วงที่โควิด-19 ระบาด ทั่วโลกออกข้อจำกัดควบคุมการเดินทางการใช้รถใช้ถนนน้อยลง ผู้ผลิตชิพให้ความสำคัญกับสินค้าประเภทสมาร์ทโฟนและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่จำเป็นมากกว่าก่อน

ชิพถูกประดิษฐ์ขึ้นเมื่อ 60 ปีก่อนเพื่อใช้ในคอมพิวเตอร์ จากนั้นพัฒนามาใช้ในรถยนต์จนกลายเป็นส่วนประกอบสำคัญที่สุดและราคาแพงสำหรับอุปกรณ์ทันสมัยที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ การที่อุปทานชิพมีไม่พอทำให้ขาดแคลนไปทั้งโลกอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เนื่องจากความต้องการสมาร์ทโฟนและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สูงเกินคาดในช่วงโควิด

เป็นที่ทราบกันดีว่า ระยะหลังชิพหรือเซมิคอนดักเตอร์ ถูกออกแบบมาให้ซับซ้อนยิ่งขึ้น การผลิตก็ยากขึ้น นี่คือเหตุผลเบื้องต้นที่ทำให้ซัพพลายโลกขาดแคลน หากจะตั้งโรงงานใหม่ต้องใช้เวลาและเงินหลายพันล้านดอลลาร์ ความต้องการที่เพิ่มขึ้นเนื่่องจากโควิด-19 ระบาดทำให้ซัพพลายชิพน้อยลง ปัจจัยหลักมาจากมาตรการกักตัวเปิดทางให้ผู้คนทำกิจกรรมที่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การเรียน หรือความบันเทิง ซึ่งต้องกระทำผ่านคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แทบเล็ต แม้แต่เครื่องเล่นเกม

โควิดยังบีบให้หลายๆ บริษัทพัฒนาระบบการทำงานทางไกล และติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์หรือพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งชิพนั้นเป็นส่วนประกอบสำคัญสำหรับเทคโนโลยีทุกด้าน ตั้งแต่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบสวมใส่ได้ไปจนถึงในระบบรถยนต์ไฟฟ้า ปัญหาคอขวดช่วงโควิดจึงเริ่มที่อุตสาหกรรมรถยนต์ก่อน

สำนักข่าวอนาโดลูของตุรกีรายงานอ้างข้อมูลจากสมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ (เอสไอเอ) ยอดขายเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกปี 2563 เพิ่มขึ้น 6.5% จากปี 2562 ทะลุ 4.39 แสนล้านดอลลาร์ หากเทียบเป็นรายภูมิภาคยอดขายในตลาดสหรัฐเพิ่มขึ้น 19.8% ขณะที่ยอดขายในจีน ตลาดชิพใหญ่สุดของโลกเพิ่มขึ้น 5%

ดีมานด์สูงเกินคาด

ความต้องการที่สูงมากชนิดไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ส่งผลให้อุตสาหกรรมรถยนต์เป็นอุตสาหกรรมแรกที่รู้สึกได้ถึงวิกฤติขาดแคลนชิพทั่วโลก รายงานจากบริษัทที่ปรึกษา "ดีลอยต์" เผยว่า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในรถยนต์ซึ่งหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่จอแอลซีดีไปจนถึงระบบภายในจะมีสัดส่วนถึง 45% ของต้นทุนการผลิตรถหนึ่งคันภายในปี 2573

ต้นทุนส่วนประกอบที่มีเซมิคอนดักเตอร์เป็นพื้นฐานสำหรับใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้คาดว่าเพิ่มเป็น 475 ดอลลาร์ในปี 2563 และ 600 ดอลลาร์ในปี 2573

แม้ความต้องการชิพเพื่อใช้กับระบบคอมพิวเตอร์ในรถเพิ่มสูงขึ้น แต่ด้วยความกังวลว่ามาตรการจำกัดการเดินทางช่วงโควิดจะส่งผลกระทบต่อยอดขายรถยนต์ ทำให้ผู้ผลิตยกเลิกคำสั่งซื้อชิพ กลายเป็นว่าความต้องการจากบริษัทอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มสูงขึ้นแทน ผู้ผลิตรถยนต์จะมาซื้อชิพทีหลังย่อมทำได้ยาก

ความยากลำบากในการหาซื้อชิ้นส่วนที่ต้องใช้ชิพและไมโครชิพทำให้ฟอร์ด เจนเนอรัลมอเตอร์ส โตโยต้า โฟล์คสวาเกน ฮอนด้า สเตลแลนติส และบริษัทผลิตรถยนต์ไฟฟ้า "นีโอ" ต้องลดการผลิตหรือปิดโรงงาน

ความปั่นป่วนนี้ก่อให้เกิดความเสียหายหลายพันล้านดอลลาร์บีบให้ผู้ผลิตรถยนต์ต้องแข่งกับยักษ์ใหญ่อิเล็กทรอนิกส์อย่างแอ๊ปเปิ้ลซื้อชิพที่มีอุปทานจำกัด

บริษัทที่ปรึกษาอลิกซ์พาร์ทเนอร์สคาดว่า การขาดแคลนชิพอาจบั่นทอนรายได้อุตสาหกรรมรถยนต์โลกลงมากถึง 6.06 หมื่่นล้านดอลลาร์

เท่านั้นยังไม่พอ ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า หากสถานการณ์ไม่ดีขึ้นวิกฤติชิพอาจเป็นสาเหตุให้การผลิตหลายสาขาปั่นป่วนตามไปด้วย เช่น การผลิตสมาร์ทโฟน

เมื่อโควิดกระจายไปทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง อุตสาหกรรมชิพกำลังเตรียมการสำหรับช่วงหลังโควิดด้วยการลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์เพื่อรับมือวิกฤติ


ขณะนี้ชิพถูกมองว่าเป็นปัจจัยการแข่งขันระหว่างประเทศต่างๆ เมื่อบริษัทและนานาประเทศต่างพยายามกำหนดความเป็นไปในอุตสาหกรรมชิพผ่านการลงทุนมหาศาล เช่น อินเทล หนึ่งในผู้ผลิตชิพรายใหญ่สุดของโลก ประกาศแผนสร้างโรงงานผลิตชิพใหม่อีกสองโรงในรัฐแอริโซนาด้วยเม็ดเงินลงทุน 2 หมื่นล้านดอลลาร์

ซัมซุง ยักษ์อิเล็กทรอนิกส์จากเกาหลีใต้ก็กำลังวางแผนใช้งบประมาณ 1.16 แสนล้านดอลลาร์ ตั้งเป้าเป็นบริษัทผลิตชิพรายใหญ่สุดของโลกภายในปี 2573 เพื่อให้เป็นไปตามเป้าซัมซุงกำลังก่อสร้างโรงงานใหญ่แห่งหนึ่งทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ คาดว่าจะเริ่มผลิตได้ในปีนี้

ด้านไต้หวันเซมิคอนดักเตอร์แมนูแฟคเจอริง (ทีเอสเอ็มซี) ผู้รับจ้างผลิตรายใหญ่สุดของโลก ก็กำลังก่อสร้างโรงงานแห่งหนึ่งมูลค่า 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ในแอริโซนาเหมือนกับอินเทล คาดว่าเริ่มผลิตได้ในปี 2567

ในจีนที่ต้องการลดการพึ่งพาชิพจากต่างประเทศ กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติสองรายให้เงินทุนราว 2.25 พันล้านดอลลาร์แก่เอสเอ็มไอซี ผู้ผลิตชิพชั้นนำของจีน เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตที่โรงงานในเซี่ยงไฮ้ คาดว่าโรงงานแห่งนี้จะมีศักยภาพการผลิตเพิ่มเป็นสามเท่าในอนาคต

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า อุตสาหกรรมชิพกำลังเตรียมตัวรับระเบียบใหม่จากการที่เศรษฐกิจโลกเปิดดำเนินการอีกครั้ง และนักออกแบบเซมิคอนดักเตอร์ก็มีงานใหญ่รออยู่ข้างหน้าในการกำหนดระเบียบโลกใหม่หลังโควิด-19

จ่อลากยาวถึงปีหน้า

คาร์ลอส ทาวาเรส ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ)สเตลแลนติส บริษัทผลิตรถยนต์รายใหญ่อันดับ 4 ของโลก กล่าวในงานสมาคมสื่อรถยนต์ที่เมืองดีทรอยต์ของสหรัฐ เมื่อกลางเดือน ก.ค.ตอกย้ำความเห็นของเดมเลอร์เอจีที่กล่าวไว้ก่อนในวันเดียวกันนั้นว่า การขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ที่เล่นงานผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลกส่งผลให้การผลิตรถยนต์ติดขัด อาจลากยาวไปถึงปี 2565

"วิกฤติเซมิคอนดักเตอร์เท่าที่ผมเห็นตอนนี้ ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าเห็นได้ทุกอย่าง กำลังลามเข้าสู่ปี 2565 ได้ไม่อยาก เพราะผมยังไม่เห็นสัญญาณการผลิตเพิ่มเติมจากแหล่งผลิตในเอเชีย เรื่องแบบนี้จะเกิดขึ้นกับโลกตะวันตกในอนาคตอันใกล้" ทาวาเลสกล่าวและว่า สเตลแลนติสกำลังตัดสินใจเปลี่ยนชิพที่ใช้ให้หลากหลาย ซึ่งการปรับไปใช้ชิพที่แตกต่างออกไปต้องใช้เวลาราว 18 เดือน เนื่องจากต้องใช้เทคโนโลยีอันซับซ้อน

ทั้งนี้ การที่เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวจากโควิดทำให้ความต้องการรถยนต์เพิ่มมากขึ้น ช่วยหนุนราคารถยนต์ใหม่และรถมือสองต่อเนื่องมาถึงความต้องการชิพ ผู้ผลิตบางรายรับมือปัญหาขาดแคลนชิพด้วยการลดบางฟีเจอร์ในรถยนต์ลง บางรายใช้วิธีผลิตโดยไม่ต้องใส่ชิพก่อนรอให้ทุกสิ่งทุกอย่างพร้อมแล้วค่อยประกอบทีหลัง

https:// www.bangkokbiznews.com/news/detail/952271
#7173


ธนาคารยูโอบี ประเทศไทยรวมใจพนักงานและลูกค้าระดมเงินบริจาคกว่า 5 ล้านบาทในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาเพื่อมอบให้แก่สภากาชาดไทยนำไปซื้อชุดอุปกรณ์ยังชีพและของใช้จำเป็นในชีวิตประจำวัน สำหรับมอบให้กับผู้ยากไร้ที่ต้องกักตัวที่บ้านตามมาตรการป้องกันโควิด-19

โดยในโครงการ #รวมใจสู้ไปพร้อมคุณ เพื่อสู้ภัยโควิต-19 นั้น ทุกเงินบริจาค 1 บาทจากพนักงาน ธนาคารจะสมทบอีก 1 บาท สูงสุดไม่เกิน 2 ล้านบาท นอกจากนี้ ลูกค้าผู้ถือบัตรเครดิตยูโอบียังร่วมบริจาคคะแนนสะสมบัตรเครดิตยูโอบี โดยคะแนนสะสมทุก 1,000 คะแนนเปลี่ยนเป็นเงินบริจาคได้ 120 บาท

มร. ตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า "เรากำลังเผชิญกับโรคระบาดที่รุนแรงที่สุดเท่าที่เคยบันทึกในประวัติศาสตร์ และชุมชนไม่เคยต้องการความช่วยเหลือและการดูแลมากเท่านี้มาก่อน ผมขอขอบคุณเพื่อนพนักงานและลูกค้าสำหรับน้ำใจที่มอบให้ในช่วงเวลาแห่งความท้าทายนี้ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเงินบริจาคของเราที่ส่งมอบให้สภากาชาดไทยจะมีส่วนช่วยเพื่อนพี่น้องที่ตกทุกข์ได้ยากให้ก้าวผ่านวิกฤตโควิด-19 ไปได้"

โครงการระดมเงินบริจาคนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการยูโอบี ฮาร์ทบีท เพื่อสู้ภัยโควิด-19 อันเป็นความคิดริเริ่มภายใต้โครงการ #รวมใจสู้ไปพร้อมคุณ ของกลุ่มธนาคารยูโอบีทั่วโลกที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ปีที่ผ่านมา โครงการนี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือชุมชนในระยะยาวของกลุ่มธนาคารในช่วงเวลาแห่งความยากลำบากนี้
#7174
ขายดาวน์  215,800 ( กค 2564 ) ห้อง 716
#7175
ขายดาวน์  215,800 ( กค 2564 ) ห้อง 812
#7177



SMEs เป็นผู้ประกอบการส่วนใหญ่ของประเทศ แต่วันนี้บทบาทของ SMEs ต่อระบบเศรษฐกิจในปัจจุบันยังมีไม่มากเท่าที่ควร และนี่คือปัญหา "ความย้อนแย้ง" ในเชิงโครงสร้างแบบ 'มากแต่น้อย' ข้อมูลของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ระบุว่า SMEs ไทย มีจำนวนมากถึง 3.1 ล้านราย หรือ 99.5% ของผู้ประกอบการทั้งระบบ แต่มีบทบาทต่อระบบเศรษฐกิจเพียง 35% ของ GDP รวม ขณะที่ผู้ประกอบการขนาดใหญ่มีจำนวนไม่ถึง 1.5 หมื่นราย กลับมีบทบาทต่อ GDP สูงเกือบ 60% ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อหันไปมองประเทศอื่นใน ASEAN จะเห็นว่า SMEs มีบทบาทค่อนข้างสูง เช่น เวียดนาม SMEs มีบทบาทสำคัญถึง 40% ของ GDP อินโดนีเซีย 58% รวมถึงกลุ่มประเทศ OECD (Organization for Economic Co-operation and Development) ที่เรียกได้ว่าเป็นกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว SMEs มีบทบาทเฉลี่ยราว 50-60%

ถึงเวลาแล้วที่เราต้องเร่งพัฒนาและยกระดับ SMEs ไทยให้มีบทบาทขับเคลื่อนเศรษฐกิจมากขึ้น หนึ่งใน Pain Point ที่เห็นชัดเจน คือ SMEs ไทยส่วนใหญ่ยังค้าขายในประเทศเป็นหลัก สะท้อนจาก SMEs ที่เป็นผู้ส่งออกมีเพียง 2.4 หมื่นราย หรือไม่ถึง 1% ของ SMEs ทั้งระบบ ทำให้เผชิญการแข่งขันที่รุนแรง เนื่องจากคนขายมีมากขึ้นแต่คนซื้อเท่าเดิม เมื่อประกอบกับข้อจำกัดต่าง ๆ ภายในประเทศ ทั้งเศรษฐกิจชะลอตัว รวมถึงการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุทำให้การจับจ่ายใช้สอยไม่คึกคักเหมือนในอดีต ล้วนเป็นสาเหตุทำให้ SMEs ไทยมีทางเลือกไม่มากและเติบโตได้ยาก ดังนั้น ทางออกของปัญหานี้คือ SMEs ไทยต้องโกอินเตอร์ ขยายธุรกิจสู่ต่างประเทศ นอกจากการสนับสนุนให้ SMEs เริ่มต้นหรือขยายธุรกิจส่งออกมากขึ้นแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่สามารถทำได้ทันที คือ การสนับสนุน SMEs ให้เป็นผู้ส่งออกทางอ้อม (Indirect Exporter) อยู่ใน Supply Chain ของผู้ส่งออก เพื่อให้ธุรกิจสามารถเดินต่อได้โดยไม่สะดุด เป็นการสร้าง Inclusive Growth ระหว่างคนตัวใหญ่กับคนตัวเล็กให้เติบโตไปพร้อมกัน


ดร.พสุ โลหารชุน ประธานกรรมการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) กล่าวในโอกาสเปิด EX1M Solution Forum Ep.1 ว่า EXIM BANK ทำงานร่วมกันกับภาครัฐและภาคธุรกิจเพื่อเสริมสร้างให้เกิด Supply Chain ที่แข็งแรง ที่ผู้ประกอบการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำสามารถเติบโตไปด้วยกันอย่างมั่นคงและยั่งยืน ทั้งยังเป็นการนำร่องและกระตุ้นให้เกิดการบูรณาการความร่วมมือ ซึ่งจะทำให้เกิด Supply Chain ที่แข็งแรงในภาคธุรกิจอื่น ๆ ต่อไป

ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK กล่าวว่า  "สิ่งที่เราต้องทำต่อไปคือ เราต้องออกไปข้างนอก เพื่อหาตลาดที่ใหญ่ขึ้น "เรือเล็กต้องออกจากฝั่ง" สร้างตลาดที่แข็งแรงที่จะตอบโจทย์การผลิตหรือการให้บริการธุรกิจของเรา ซึ่งจะเป็นการเชื่อมทุก ๆ มิติ ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง Margin ไปจนถึง Logistics รวมถึง Stock Management ของผู้ประกอบการขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก เราต้องการให้คนตัวใหญ่เป็นที่พึ่งพา คนตัวเล็กสามารถพึ่งพิง และในอนาคตเราจะสร้างการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนให้กับประเทศไทย"

ผู้ประกอบการขนาดใหญ่ (Sponsor) อย่าง คุณวิทูร สุริยวนากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สยามโกล.เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบธุรกิจส่งออก-นำเข้าและศูนย์รวมวัสดุก่อสร้างและสินค้าไลฟ์สไตล์ครบวงจรของไทยกล่าวถึงการพัฒนา Supply Chain ร่วมกันว่า "ผมเชื่อว่าเมื่อเรามารวมกันเป็นทีมประเทศไทย เราจะโตไปด้วยกัน ไม่เฉพาะในประเทศแต่มีโอกาสเติบโตในต่างประเทศด้วย วันนี้ EXIM BANK เข้ามาเป็นโซ่กลางเชื่อมโยงและสนับสนุน Supply Chain ของเรา ให้เงินทุนจัดหาวัตถุดิบและเครื่องจักรที่ทันสมัย ช่วยให้เราสามารถพัฒนาสินค้าและบริการให้ตอบโจทย์ลูกค้า"


EXIM BANK จึงได้เสริมความแข็งแกร่งให้อุตสาหกรรมไทยทั้ง Supply Chain โดยออกบริการ "สินเชื่อเครือข่ายธุรกิจครบวงจร (EXIM Supply Chain Financing Solution)" เสริมสภาพคล่องให้แก่ธุรกิจ SMEs ที่เป็น Suppliers ของผู้ประกอบการรายใหญ่ (Sponsor) โดยไม่ต้องใช้หลักประกันเพิ่ม เบิกกู้สูงสุด 90% ของมูลค่า Invoice สามารถนำ Invoice มาใช้ ยื่นขอสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษผ่าน Digital Platform ได้ วงเงินกู้สูงสุด 25% ของยอดขายรวมปีล่าสุด โดยอ้างอิงบนเครดิตที่แข็งแรงของ Sponsor บริการดังกล่าวช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงสินเชื่อได้สะดวกขึ้นและมีต้นทุนต่ำลง มีความคล่องตัวในการดำเนินธุรกรรมทางออนไลน์ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางมาที่ธนาคาร ขณะที่ Sponsor ซึ่งเป็นลูกค้า EXIM BANK จะได้รับเครดิตเทอมเพิ่มจากคู่ค้าที่เป็น SMEs และมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่แน่นแฟ้นระหว่างกัน เป็นประโยชน์ในการขยายธุรกิจต่อไปในอนาคตข้างหน้า นับเป็นการสร้าง Supply Chain ที่แข็งแรง ซึ่งผู้ประกอบการรายใหญ่สามารถสนับสนุนและเสริมความแข็งแรงให้กับผู้ประกอบการ SMEs ได้อย่างเกื้อกูลและยั่งยืน โดยมีเครื่องมือทางการเงินและการบริหารความเสี่ยงของ EXIM BANK เป็นกลไกช่วยให้ทุกภาคส่วนดำเนินธุรกิจไปได้อย่างไม่ติดขัด แม้จะได้รับผลกระทบซ้ำเติมจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้นเป็นระลอกทั่วโลก

ในขณะที่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กให้ความเห็นตรงกันว่าการส่งเสริมความแข็งแกร่งทั้ง Supply Chain ด้วยมาตรการ "สินเชื่อเครือข่ายธุรกิจครบวงจร" ของ EXIM BANK ทำให้ผู้ประกอบการขนาดเล็กเกิดความคล่องตัวในการบริหารธุรกิจ ทั้งการควบคุมต้นทุน การจัดการสต๊อกวัตถุดิบ และทำให้บริหารธุรกิจได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น ทำให้ธุรกิจขนาดเล็กกล้าที่จะเติบโต

คุณกิตติศาสตร์ พลตื้อ ประธานกรรมการ บริษัท วิชั่น กลาส แอนด์ ดอร์ อินดัสเทรียล จำกัด "เงินทุนหมุนเวียนจาก EXIM BANK ไม่ต้องใช้เอกสารมากมาย ไม่ต้องมีหลักประกัน ประกอบกับการได้อยู่ในเครือข่าย Supply Chain ทำให้ได้รู้จักทั้งรายใหญ่และรายย่อย ได้แลกเปลี่ยนการเรียนรู้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างมาก"

คุณเศรษฐชัย สุริยะเลิศกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท อุดรเก้าเจริญทรัพย์ จำกัด "Supply Chain จะมีความเกี่ยวข้องกันตั้งแต่การผลิต การจัดหาวัตถุดิบ การบริหาร จนกระทั่งการจัดส่งไปถึงมือลูกค้า ทำให้ระบบทั้งหมดเติบโตไปด้วยกัน การสนับสนุนของ EXIM BANK ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ ในระบบ Supply Chain ซึ่งมีความแตกต่างกัน สามารถควบคุมต้นทุนให้สอดคล้องกันได้"                             


คุณเฉลิม เศารยางกูร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็ม.เจ.พาราวู๊ด จำกัด "การที่บริษัทได้รับการสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ทำให้สามารถสต็อกวัตถุดิบได้ในช่วงเวลาและราคาที่เหมาะสม ทำให้สามารถลดต้นทุน บริหารจัดการสต็อกวัตถุดิบและวางแผนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ"

คุณกรองพร สิริประสิทธิ์พงศ์ ผู้จัดการการเงินและการตลาด บริษัท ว.พลาสติก (2002) จำกัด "โอกาสของธุรกิจภายใต้ Supply Chain ที่แข็งแรง ทำให้เรากล้าที่จะเติบโต ขอบคุณ EXIM BANK และ สยามโกล.เฮ้าส์ที่ทำให้ Supply Chain แข็งแรง ทำให้เรากล้าที่จะลงทุนในผลิตภัณฑ์ โดยมีบริการทางการเงินช่วยให้ธุรกิจเราคล่องตัวมากขึ้น"

วันนี้ EXIM BANK ทำหน้าที่อย่างแข็งขันในการพัฒนาภาคธุรกิจ โดยเฉพาะ SMEs ไทยให้มีแรงขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ ก้าวข้ามข้อจำกัดด้านเงินทุนและอำนาจต่อรอง โดยอาศัยพันธมิตรทางธุรกิจเป็นสะพานเชื่อมไปสู่โอกาสใหม่ ๆ ที่นำไปสู่การเติบโตร่วมกันอย่างมั่นคงและยั่งยืน ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำและการขาดโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการรายย่อย กระตุ้นให้เกิดการค้าและธุรกรรมผ่านระบบดิจิทัลเพื่อความสะดวกรวดเร็วแก่ภาคธุรกิจและผู้บริโภค ตลอดจนเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมไทยตลอดทั้ง Supply Chain เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีความแข็งแกร่งและพร้อมเริ่มต้นกับโอกาสครั้งใหม่หลังวิกฤตโควิด-19
#7178



นายอเลฮานโดร โอโซริโอ กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย เปิดเผยว่าได้ประกาศศึกสู้โควิดระลอก 4 ผนึกพันธมิตร "KBank-CRG-PTG" (ธนาคารกสิกรไทย (KBank) บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด (CRG) บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จํากัด (มหาชน) (PTG) และอีกหลายเครือข่ายพันธมิตร ผ่าน 4 กิจกรรมหลักซึ่งจะเริ่มต้นส.ค. ส่งโครงการ "สู้ไปด้วยกัน" เร่งสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 ภายใต้งบประมาณรวมกว่า 160 ล้านบาท โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหาร ผู้ป่วยที่แยกกักตัวที่บ้าน โรงพยาบาลและองค์กรการกุศล รวมถึงพาร์ทเนอร์คนขับ เพื่อมุ่งบรรเทาความเดือดร้อนให้คนไทย พร้อมเสริมสภาพคล่องทางการเงินให้กับผู้ประกอบการขนาดเล็กให้สามารถประคับประคองธุรกิจต่อไปได้ ทั้งนี้ 4 กิจกรรมหลักภายใต้โครงการ "สู้ไปด้วยกัน" ประกอบด้วย พร้อมใจสู้คู่ร้านค้า โดยแกร็บร่วมกับ KBank "ร่วมด้วย ช่วยเปย์" เพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน ควบคู่ไปกับการจัดโปรโมชั่นเพื่อกระตุ้นยอดขายและกระแสเงินสดหมุนเวียนให้กับธุรกิจร้านอาหาร มอบเงินสนับสนุนให้กับพาร์ทเนอร์ร้านค้าที่ใช้บัญชีกสิกรไทยในอัตรา 15% ของยอดขายในเดือน ส.ค. (จำกัดวงเงินสูงสุดไม่เกิน 3,000 บาทต่อร้าน) โดยติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง www.grabmerchantth.com/grabfood-kbank


เตรียมจัดแคมเปญ "ร่วมด้วย ช่วยเปย์" เพื่อมอบส่วนลดค่าอาหาร 50% เมื่อสั่งอาหารผ่าน GrabFood พร้อมช่วยโปรโมตร้านอาหารขนาดเล็กทั่วประเทศผ่านสื่อและแอพลิเคชั่น โดยติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้เร็วๆ นี้ พร้อมใจสู้คู่สังคมไทย: โดยแกร็บร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ป่วย พร้อมส่งเสริมการบริจาคสมทบทุนโรงพยาบาลเพื่อสนับสนุนโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด-19ร่วมกับ CRG เพื่อช่วยจัดส่งอาหารจากแบรนด์ในเครือด้วยบริการ GrabExpress ให้กับผู้ป่วยที่กักตัวที่บ้านภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ นอกจากนี้ ยังได้มอบส่วนลดค่าบริการให้กับเครือข่ายช่วยเหลือสังคม อาทิ เพจเราต้องรอด และโรงพยาบาลศิริราช ในการจัดส่งอาหารหรือยาให้กับผู้ป่วย


นอกจากนี้ชวนผู้ใช้บริการเปลี่ยนคะแนน GrabRewards เป็นเงินบริจาคเพื่อสนับสนุนมูลนิธิของโรงพยาบาลต่างๆ อาทิ มูลนิธิรามาธิบดี โดยแกร็บจะร่วมสมทบทุนอีกเท่าตัวของยอดบริจาคทั้งหมดด้วย พร้อมใจสู้คู่พี่คนขับ: สร้างความอุ่นใจและพร้อมให้ความช่วยเหลือพาร์ทเนอร์คนขับที่ถือเป็นด่านหน้าในการให้บริการการเดินทางและการจัดส่งอาหาร-พัสดุผนึก PTG มอบสิทธิประโยชน์ในการเข้ารับบริการพ่นฆ่าเชื้อไวรัสโควิด-19 ให้กับพาร์ทเนอร์คนขับและผู้จัดส่งอาหารของแกร็บที่สถานีบริการปั๊มน้ำมันพีที 855 สาขาทั่วประเทศไทยตลอดเดือนสิงหาคมฟรี รวมไปถึงกล่องใส่อาหาร ร่วมกับ GQ Apparel ทยอยมอบหน้ากากผ้ารุ่น GQWhite™ Mask พร้อมลายสกรีน Vaccinated จำนวน 150,000 ชิ้นให้กับพาร์ทเนอร์คนขับที่ได้รับวัคซีนแล้ว พร้อมใจสู้คู่คนไทย: โดยการมอบส่วนลดค่าบริการส่งอาหารและพัสดุผ่าน GrabFood GrabMart และ GrabExpress เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับผู้บริโภค ทั้งยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและการจับจ่ายใช้สอยในช่วงไตรมาสที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคมถึง 19 กันยายน 2564 และมอบส่วนลดสูงสุด 80% สำหรับผู้ใช้ใหม่ (3 ครั้งต่อผู้ใช้) เพียงใส่โค้ด "WITHYOU80" มอบส่วนลดสูงสุด 30% สำหรับผู้ใช้เดิม (3 ครั้งต่อผู้ใช้) เพียงใส่โค้ด "WITHYOU30"
#7179
ขายดาวน์  215,800 ( กค 2564 ) ห้อง 812
#7180



วันนี้ (30 กรกฎาคม 2564) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จัดการประชุม Science and Technology Organization Forum (STO Forum) ครั้งที่ 3/2564 โดยเชิญผู้บริหารหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย เข้าร่วมระดมสมองหารือถึงแนวทางการใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และแนวทางการสนับสนุนงบประมาณกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.) สำหรับโครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนระบบวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาประเทศ

โอกาสนี้ รศ.ดร. ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการ สกสว. กล่าวว่า การประชุมในครั้งนี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือของ สกสว. กับหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย ในการร่วมกันกำหนดเป้าหมายและทิศทางการพัฒนาระบบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ ซึ่งเป็นความคืบหน้าจากการดำเนินการตามแผนงานต่าง ๆ ความร่วมมือการพัฒนานี้จะนำไปสู่การพัฒนาวิทยาศาสตร์ไทยแบบไร้รอยต่อ อย่างไรก็ตามคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) ได้มีนโยบายเกี่ยวกับการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศที่สามารถก่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ร่วมกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด


ทางด้าน ดร.ณิรวัฒน์ ธรรมจักร์ ผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สกสว. ได้นำเสนอถึงแนวทางการสนับสนุนงบประมาณกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำหรับโครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี โดยที่ผ่านมา สกสว. ได้ระดมความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำให้ได้กรอบกิจกรรมสำคัญและรายละเอียดของลักษณะโครงการที่มีเป้าหมายในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี จากนั้น สกสว. ได้เสนอกรอบแนวคิดและแนวทางการสนับสนุน "โครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี" ซึ่งที่ผ่านมาได้นำเสนอต่อคณะอนุกรรมการด้านการพัฒนาระบบนวัตกรรม และคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.)

โดยกองทุนส่งเสริม ววน. มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมและสนับสนุนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ในหลากหลายมิติ ครอบคลุมถึงการพัฒนาต้นทุนทรัพยากรที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพ และการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ เทคโนโลยี และโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้นเป็นไปตามกรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ อววน. โดยมีกิจกรรมสำคัญสำหรับการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) การพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2) การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเชื่อมโยงและตอบโจทย์การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สำคัญ 3) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน ววน. และโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ 4) การให้บริการเทคโนโลยีและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างแพร่หลาย 5) การสื่อสารและสร้างเครือข่ายเชิงกลยุทธ์ด้าน ววน.

ทางด้าน รศ.ดร.ธวัชชัย อ่อนจันทร์ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) ได้นำเสนอแนวทางการบริหารและใช้ประโยชน์จากศูนย์ไซโคลตรอน โดยอธิบายว่า เครื่องไซโคลตรอนถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์ของประเทศ โดยปัจจุบัน สทน. อยู่ระหว่างการดำเนินการสร้างศูนย์ไซโคลตรอนของประเทศ ซึ่งไซโคลตรอนนั้นเป็นเครื่องเร่งอนุภาคไอออน ปัจจุบันการนำมาใช้ประโยชน์ทั้งในภาคธุรกิจรวมถึงทางด้านการแพทย์ ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการผลิตสารเภสัชรังสี อย่างเช่นไอโซโทปที่ใช้สำหรับการตรวจและรักษาโรคมะเร็ง ปัจจุบันมีการนำเครื่องไซโคลตรอนมาใช้ประโยชน์ในการผลิตสารเภสัชรังสีเกี่ยวกับการทำ Proton Therapy การรักษาโรคมะเร็งด้วยอนุภาคโปรตอน มีข้อดีคือสามารถปล่อยพลังงานเฉพาะตำแหน่งที่ต้องการ ไม่ทำให้เกิดแผล สามารถปล่อยพลังงานเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งในตำแหน่งที่ต้องการ ลดความเสี่ยงจากการผ่าตัด เช่น สามารถใช้ในการรักษามะเร็งสมอง เป็นเทคนิคที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน 

อย่างไรก็ตาม สทน. มีแผนการพัฒนาศูนย์ไซโคลตรอนเพื่อให้บริการงานวิจัยในด้านต่างๆ ด้วย ซึ่งการติดตั้งเครื่องคาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงปลายปี 2564 สามารถเป็นศูนย์กลางในการให้บริการผลิตสารเภสัชรังสี ทำให้คนไทยสามารถเข้าถึงการรักษาโรคด้วยเภสัชรังสีในราคาที่เข้าถึงได้ ถือเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของประเทศ

นอกจากนี้การประชุมในวันนี้ ที่ประชุมยังได้ร่วมกันระดมสมองเกี่ยวกับการร่วมกันพัฒนาระบบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ รวมถึงแนวทางการสนับสนุนและใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศ
#7182



เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนผู้สูงอายุ ครั้งที่ 9 / 2564 เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2564 เห็นชอบการผ่อนเวลาชำระหนี้ 6 เดือน แก่ลูกหนี้กองทุนผู้สูงอายุทุกคน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 - 31 มีนาคม 2565 โดยผู้กู้ยืมสามารถขอผ่อนชำระหนี้ด้วยตนเองได้ที่กองทุนผู้สูงอายุ หรือ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ทุกจังหวัด (พมจ.)

ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกในสถานการณ์ปัจจุบัน ผู้กู้ยืมสามารถขอแบบผ่อนชำระหนี้ผ่านทางโทรศัพท์ กองทุนผู้สูงอายุ หรือ พมจ.ได้ โดยจะจัดส่งเอกสารไปให้ผู้กู้ยืม ผู้ค้ำประกันและพยาน ลงนามในเอกสาร พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนรับรองสำเนาถูกต้อง และส่งเอกสารกลับมายังกองทุนผู้สูงอายุ หรือ พมจ. สอบถามรายละเอียดได้ที่ กองทุนผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ 0 2354 6100 หรือ https://www. olderfund.dop.go.th
#7183
ขายดาวน์  215,800 ( กค 2564 ) ห้อง 716
#7184



"ลลิล พร็อพเพอร์ตี้" เผยแม้โควิด-19 ระลอกใหม่จะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น แต่ภาคธุรกิจก็ต้องเดินหน้าต่อ พร้อมปรับแผนรับมือด้วยการปูพรมการตลาดดิจิทัล มาร์เก็ตติ้งเสริมความสะดวกแก่กำลังซื้อรองรับความต้องการ เชื่อ 'Work from home Function' ยังเป็นคำตอบที่ใช่ของลูกค้าในปัจจุบันและคาบเกี่ยวสู่อนาคต พัฒนาบริการพิเศษ VIP Video Call & Private Tour ให้ผู้บริโภคสามารถคลิกเข้าชมโครงการได้แบบ 360 องศาผ่านออนไลน์แพลตฟอร์ม

นายชูรัชฏ์ ชาครกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ (LALIN) ผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์คุณภาพภายใต้คอนเซ็ปต์ "บ้านที่ปลูกบนความตั้งใจที่ดี" เปิดเผยว่า กว่า 1 ปีที่ทั่วโลกต้องเผชิญกับความท้าทายครั้งรุนแรงที่สุดจากวิกฤติ COVID-19 ส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจเกิดการชะลอตัวเช่นเดียวกับภาพรวมเศรษฐกิจในประเทศไทย ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ก็เช่นกันต้องมีการปรับแผนรับมืออย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงไตรมาส 3 ของปี 2564 ถือเป็นโจทย์ที่ต้องก้าวผ่านไปให้ได้เพราะเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดนับจากเกิดการแพร่ระบาด บริษัทได้ปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การวิเคราะห์การตลาด การพัฒนาโครงการพร้อมอยู่ที่มีความหลากหลาย ปรับโฉมการออกแบบให้ตอบโจทย์ Work from home Function รวมทั้งรับเทรนด์การประหยัดพลังงานภายในบ้านด้วย Ecosystem เดินหน้าการตลาดเพิ่มการขายผ่านช่องทางออนไลน์ ตลอดจนพัฒนาการบริการหลังการขายให้มีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ ปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจให้เอื้อต่อความต้องการและความสะดวกสบายของผู้บริโภคตามสถานการณ์อยู่เสมอ โดยได้นำกลยุทธ์ Data-Driven Marketing มาเป็นหัวใจในการขับเคลื่อนการทำธุรกิจ เพื่อมอบบ้านที่ตรงตามความต้องการของตลาดในแต่ละช่วงอย่างเหมาะสม "การตลาดแบบ Data-Driven จะช่วยให้องค์กรสามารถบริหารงบประมาณได้ดีและตรงจุดยิ่งขึ้น ทั้งยังนำข้อมูลที่ได้มาศึกษาถึงความต้องการของตลาด สร้างข้อได้เปรียบทางการตลาดและการขายแบบตรงใจ รวมถึงการเลือกใช้สื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง

สำหรับที่ผ่านมาบริษัทได้นำข้อมูลที่ได้มาปรับกลยุทธ์สร้างความแข็งแกร่งให้แก่ออนไลน์ แพลตฟอร์ม และพัฒนารูปแบบบริการที่พร้อมมอบความสะดวกและปลอดภัยผ่านโลกออนไลน์อย่างสมบูรณ์แบบเพื่อให้ลูกค้ายังสามารถเลือกซื้อบ้านได้ผ่าน Private tour แบบ VDO call เพื่อต่อยอดการสร้างโอกาสในการขายอย่างมีประสิทธิภาพในสถานการณ์นี้

"COVID-19 สร้างจุดเปลี่ยนที่สำคัญให้แก่วงการอสังหาริมทรัพย์ของไทยในทุกกลุ่มตลาด เป็นตัวเร่งให้ทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคก้าวสู่การตลาดแบบดิจิทัล มาร์เก็ตติ้งเร็วยิ่งขึ้น จนสร้างประสบการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นกลายเป็น new normal ที่ผู้บริโภคยอมรับและคุ้นเคย ที่สำคัญคือแบรนด์ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้าและเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์ได้อย่างคุ้มค่าที่สุด ทำอย่างไรให้ลูกค้าเลือกซื้อบ้านได้แม้นั่งอยู่ที่บ้านถือเป็นความท้าทายของธุรกิจอสังหาฯ สิ่งนี้คือโจทย์ที่สำคัญที่ผู้ประกอบการต้องเตรียมรับมืออย่างเข้มข้นในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ที่หลายฝ่ายเชื่อว่าจะเป็นช่วงที่ส่งผลกระทบในภาพรวมที่หนักที่สุดช่วงนึงจากปัญหา COVID-19"

โดยการพัฒนาบริการพิเศษ VIP Video Call & Private Tour ให้ผู้บริโภคสามารถคลิกเข้าชมโครงการได้แบบ 360 องศาผ่านออนไลน์แพลตฟอร์มของ ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ ถือเป็นกลยุทธ์ที่ได้รับการตอบรับอย่างมากในช่วง COVID-19 "บริษัทเปิดให้ลูกค้าสามารถลงทะเบียนล่วงหน้า (Pre-registration) เพื่อเยี่ยมชมโครงการผ่านระบบ VDO Call เพื่อนำชมโครงการตามที่ลูกค้าต้องการ เปิดโอกาสให้ลูกค้าสอบถามข้อสงสัยได้แบบ real time เพียงคลิก https:// www.lalinproperty.com/visit-vip/ เพื่อลงทะเบียน และกดเลือกโครงการที่ต้องการเยี่ยมชม พร้อมระบุวันและเวลาที่สะดวกในการ VDO Call เจ้าหน้าที่โครงการก็จะติดต่อไปตามวันและเวลาที่นัดหมาย เพิ่มความสะดวกและปลอดภัยยิ่งขึ้นในช่วง COVID-19
#7185
ขายดาวน์  215,800 ( กค 2564 ) ห้อง 812